คำถามที่เกี่ยวกับการขอใช้สัตว์และการพิจารณาขอใบรับรอง

คำชี้แจง ประมาณ 1.5 - 2 เดือน แต่ขึ้นอยู่กับการปรับแก้ของนักวิจัย และระยะเวลาการยื่นขอพิจารณาโดยมีขั้นตอนการพิจารณาจรรยาบรรณสัตว์ทดลองดังนี้
1. นักวิจัยส่ง แบบขออนุญาตฯ + proposal มา 1 ชุด ส่งผ่านคณะ หรือ https://wow.in.th/xhW2
2. จัดส่งกรรมการพิจารณา (ระยะเวลาพิจารณา 2 สัปดาห์)
3. นำผลการพิจารณาเข้าประชุมพิจารณาโครงการทุกสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน (กรณีโครงการส่งมาหลังสัปดาห์แรกจะนำเข้าที่ประชุมเดือนถัดไป)
4. จัดทำหนังสือนำส่งผลการพิจารณา (แนบผลพิจารณาส่งให้นักวิจัยปรับปรุง และส่งกลับมา RDO ภายใน 2 สัปดาห์)
5. จัดทำหนังสือรับรองให้ประธานคณะกรรมการฯ ลงนาม และจัดส่งนักวิจัย
* หมายเหตุ ทั้งนี้หากนักวิจัยยื่นขอรับรองมาในสัปดาห์แรกของเดือนโครงการจะได้รับนำเข้าพิจารณาในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง ควรยื่นขอใช้สัตว์ทดลองฯ เนื่องจาการสำรวจสัตว์ จะเป็นการรบกวนสภาพความเป็นอยู่ทางธรรมชาติของสัตว์

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง ทางคณะกรรมการจะดำเนินการตามข้อเสนอแนะโดยการแยกแบบฟอร์มให้เหมาะสมกับงานวิจัยด้านการสำรวจ ส่วนการเก็บข้อมูลทางสถิติ หากไม่มีการใช้สถิติ สามารถใส่ข้อมูลอ้างอิงแหล่งที่มาของขนาดตัวอย่างได้

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง ให้นักวิจัยสามารถระบุเป็นกลุ่มของสัตว์ หรือ species ได้

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง ทางคณะกรรมการจะดำเนินการเพิ่ม line และ facebook

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง ผู้วิจัยที่มีการดำเนินการต่อสัตว์จำเป็นต้องมีคำขอใบอนุญาต หากนักวิจัยไม่มีเลขที่คำขอใบใบอนุญาต สามารถให้ผู้ร่วมวิจัยในโครงการซึ่งเป็นผู้ดำเนินการต่อสัตว์ที่มีเลขที่คำขอใบอนุญาต ยื่นขอใช้สัตว์ทดลองได้ แต่ผู้ดำเนินการต่อสัตว์ทุกท่านจำเป็นต้องมีเลขที่ใบคำขออนุญาต

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง หากรายวิชาที่ถ่ายทำวิดีโอ โดยไม่ได้นำสัตว์มาทำการตัดต่อวิดีโอใหม่ ไม่จำเป็นต้องยื่น คกส. แต่หากใช้สัตว์ในการถ่ายทำใหม่ ต้องยื่นขอใหม่ update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง กรณีที่ทางคณะหน่วยงานต้นสังกัดของท่านจำเป็นต้องเก็บข้อมูล ให้นักวิจัยส่งต้นฉบับผ่านคณะ/หน่วยงานเพื่อรับทราบและส่งมายังสำนักวิจัย แต่กระบวนการทำงานของคณะกรรมการฯ จะเริ่มนับตั้งแต่การรับข้อเสนอโครงการผ่านทางระบบ ซึ่งอาจทำให้การพิจารณาโครงการของท่านเร็วขึ้น

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2558 ได้มีการประกาศ “พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558” ลงในราชกิจจานุเบกษา โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2558

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง ขอให้ยื่นเพื่อขอใช้สัตว์ทดลองทุกประเภทสัตว์ เพื่อความปลอดภัยในการทำผลงานตีพิมพ์ หรือการขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไป ซึ่งทางสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้นิยาม สัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ ตามพระราชบัญญัติ (พรบ) สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งสัตว์หมายถึง
- สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งไม่ใช่มนุษย์
- ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ที่เกิดขึ้นหลังจากไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิจนผ่านระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตจนถึงครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการตั้งท้องหรือการฟักตัวของไข่ แล้วแต่ชนิดของสัตว์
- เซลล์ของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ซึ่งไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์ ที่สามารถพัฒนาเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นตัวอ่อนหรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะต่อไปได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปจากเดิม
- สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง สถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์การประเมิน แต่จะมี ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามข้อกำหนด ของประกาศพระราชบัญญัติเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 2558 มาตรา21,มาตรา22(4),มาตรา23,มาตรา25,มาตรา25(4),26,มาตรา8(11) และในเบื้องต้นให้คณะ/หน่วยงานที่มีการเข้าตรวจประเมินโดย สถาบันการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง อาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่อื่นใดที่มีการดำเนินการต่อสัตว์ เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมถึงพื้นที่โดยรอบของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มี การดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ด้วย (ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามมาตรา ๒๑)

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง กรณีคณะ/หน่วยงานที่มีการจดแจ้งเป็นสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์ในภาพรวมของคณะเรียบร้อยแล้ว การจดแจ้งเพิ่มให้จดแจ้งข้อมูลผ่านผู้ดูและระบบการจดแจ้งของสถานที่ดำเนินการของคณะ/หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดคณะที่มีการจดแจ้งแล้วดังนี้ - คณะวิทยาศาสตร์ B2559/00044.001 ผู้ดูแลส่วนงานงานสนับสนุนการวิจัย ธัญญาภรณ์ บุญเพ็ชร thanyaporn.b@psu.ac.th /kwanchanok.d@psu.ac.th - คณะสัตวแพทยศาสตร์ B2559/00044.002 ผู้ดูแลส่วนงาน คุณสิริลักษณ์ แก้วมณี siriluk.ka@psu.ac.th - คณะทรัพยากรธรรมชาติ B2559/00044.003 ผู้ดูแลส่วนงาน คุณจิราภรณ์ คงสุข jiraporn.kh@psu.ac.th - คณะคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม B2559/00044.004 ผู้ดูแลส่วนงาน รศ.ดร.ศักดิ์ชิน บุญถวิล sakshin.b@phuket.psu.ac.th - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม B 2559/00044.005 ผู้ดูแลส่วนงาน คุณสากล โพธิ์เพชร sakol.p@psu.ac.th - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี B 2559/00044.006 ผู้ดูแลส่วนงานคุณอุษณีย์ อภิบาลแบ usanee.ap@psu.ac.th กรณีคณะ/หน่วยงานที่ยังไม่มีการจดแจ้งข้อมูลเป็นสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์ การดำเนินการกรอกข้อมูลแบบ สพสว.วช.–ปป.2 พร้อมแนบเอกสารให้ครบถ้วน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ตามมาตรา ๒๑ ส่งมายังสำนักวิจัยและพัฒนา

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง การดำเนินงานวิจัย การเรียนการสอน และการดำเนินงานที่ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (เช่น โครงการจัดอบรมที่มีการใช้สัตว์) ให้ทำการยื่นขอการรับรองจากคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง นักวิจัยที่ได้รับการรับรองการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ จากคณะกรรมการฯ จำเป็นต้องจัดส่งแบบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานที่ใช้สัตว์ มายังสำนักวิจัยและพัฒนา ทุก 6 เดือน โดยให้รายงานความก้าวหน้าเดือนที่ 3 (ข้อมูล ตุลาคม – มีนาคม) และ เดือนที่ 9 (ข้อมูล เมษายน – กันยายน) ของปี จนเสร็จสิ้นโครงการใช้สัตว์

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง หากนักวิจัยมีความประสงค์จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ นอกเหนือจากการขอการรับรองในครั้งแรก นักวิจัยจะต้องจัดทำหนังสือแจ้งมายังคณะกรรมการฯ ก่อนดำเนินการทุกครั้ง เช่น มีความประสงค์จะขอใช้สัตว์เพิ่ม ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ อื่น ๆ หากนักวิจัยไม่ดำเนินการคณะกรรมการจะไม่รับรองการกระทำที่เกิดขึ้นนอกเหนือจาการขอการรับรอง

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง นักวิจัยสามารถขอใช้สัตว์ทดลองเพิ่มเพื่อกันการเสียชีวิตของสัตว์ ได้ 10 % นอกเหนือจากการคำนวณตามหลักสถิติ แต่ต้องแจ้งในครั้งแรกที่ขอใช้สัตว์ (กรณีขอภายหลังการพิจารณาประธานจะพิจารณาให้กรณีไม่เกิน 10 % จากการคำนวณ หากเกินจะนำเข้าหารือในที่ประชุมก่อนทำการอนุมัติ)

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสพสว.วช. หากนักวิจัยท่านใดยังไม่ผ่านการอบรม สามารถเข้าไปลงทะเบียน ออนไลน์ได้ที่ https://labanimals.nrct.go.th/ เพื่อขึ้นทะเบียนขอเลขที่รับรองใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ หากได้รับเลขเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการจะรับการพิจารณาโครงการของท่าน (U1-06365-2561) แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยที่ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ควรมีประสบการณ์การใช้สัตว์ฯ และมีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้สัตว์

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง ผู้รับผิดชอบหลักที่ขอใช้สัตว์ ควรเป็นอาจารย์ที่มีเลขที่คำขอรับใบอนุญาต ที่ผ่านการอบรมจาก สพสว. โดยอาจจะไม่ใช่หัวหน้าโครงการวิจัยแต่อย่างน้อยต้องเป็นผู้ร่วมในโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และหากกรณีนักศึกษาเป็นผู้ขอใช้สัตว์ ควรมีผู้ร่วมโครงการที่เป็นอาจารย์ที่มีเลขที่คำขอรับใบอนุญาตที่ผ่านการอบรมจาก สพสว. (U1-06365-2561)

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง นักวิจัยควรขอการรับรองก่อนการทำการวิจัย และเผื่อระยะเวลาการพิจารณาโครงการอย่างน้อย 2 เดือน

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง นักวิจัยควรดึงแบบฟอร์มจากหน้าเว็บไซต์มาตาฐานการวิจัย การวิจัยในสัตว์ทดลอง สำนักวิจัยและพัฒนา เพื่อให้แบบฟอร์มเป็นปัจจุบัน

update: 04 Aug 2021

คำชี้แจง แผนการใช้สัตว์หมายถึงเวลาในการเริ่มการทดลอง เช่น เริ่มทดลองที่เดือนไหนสิ้นสุด เมื่อใด เป็นต้น โดยสามารถทำเป็น Gantt chart ได้

update: 04 Aug 2021

ตอบ หากเป็นสัตว์ที่เข้าข่ายในพรบ.การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ก็ต้องขอจริยธรรมค่ะ แต่ถ้าเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในระหว่างที่รอกฎกระทรวงออกแนะนำให้ขอจริยธรรมไว้ค่ะเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

update: 25 Sep 2018

ตอบ ผู้รับผิดชอบหลักจะต้องส่งรายงานการใช้สัตว์ปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือนมีนาคม และ เดือนกันยายน ต่อคณะกรรมการฯ เพื่อทางฝ่ายผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการฯ จะสรุปเพื่อป้อนข้อมูลเข้าระบบของสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มรายงานได้ที่ https://rdo.psu.ac.th/ResearchStandards/animal/

update: 25 Sep 2018

ตอบ ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการฯ จะตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารที่ส่งมา

  1. กรณีที่ไม่ต้องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการฯ (แก้ไขเล็กน้อย) ฝ่ายผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการฯ จะดำเนินการแจ้งเวียนแก่คณะกรรมการฯ เพื่อขอความเห็นต่อโครงการที่ได้ปรับแก้ไขมา ในกรณีที่หากไม่มีความเห็นใดจากกรรมการฯ ทางฝ่ายผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการฯ จะดำเนินการออกใบรับรองให้ หากมีความเห็นของกรรมการฯ ที่ต้องการให้ปรับแก้หรือชี้แจงให้กระจ่างจากที่แก้ไขมาทางฝ่ายผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการฯ จะแจ้งให้ทางผู้รับผิดชอบหลักในโครงการทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขหรือชี้แจงมาใหม่อีกครั้ง
  2. กรณีต้องนำเข้าพิจารณาโดยที่ประชุมคณะกรรมการฯ (กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ) กระบวนการพิจารณาจะใช้เวลานานขึ้น เหมือนเป็นการพิจารณาโครงการยื่นขอการรับรองใหม่
update: 25 Sep 2018

ตอบ ผู้รับผิดชอบหลักในโครงการดำเนินการแก้ไข หรือ ชี้แจงในเอกสารที่ได้รับจากผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการฯ ให้กระจ่าง ชัดเจน เพื่อทำให้การพิจารณาในครั้งที่ 2 รวดเร็วขึ้น และทำการส่งเอกสารผ่านคณะที่ผู้รับผิดชอบหลักในโครงการสังกัดมายังคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักวิจัยและพัฒนา

update: 25 Sep 2018

ตอบ สถานที่ที่มีการใช้สัตว์ตามพระราชบัญญัติ (พรบ) สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยสัตว์หมายถึง

  1. สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งไม่ใช่มนุษย์
  2. ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ที่เกิดขึ้นหลังจากไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิจนผ่านระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตจนถึงครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการตั้งท้องหรือการฟักตัวของไข่ แล้วแต่ชนิดของสัตว์
  3. เซลล์ของสิ่งมีชีวิตตาม(1)ซึ่งไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์ ที่สามารถพัฒนาเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นตัวอ่อนหรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะต่อไปได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปจากเดิม
  4. สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
update: 25 Sep 2018

ตอบ สถานที่มีการใช้สัตว์ที่ยังมีชีวิต เพื่อการเรียนการสอน วิจัย และงานทางวิทยาศาสตร์ กรณีสถานที่นั้นใช้เฉพาะซากสัตว์ ไม่ต้องยื่นจดแจ้ง

update: 25 Sep 2018

ตอบ สัตว์ที่ไม่เข้าข่ายตามพระราชบัญญัติ (พรบ) สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งสัตว์ที่อยู่ในขอบข่าย พรบ.ฯ คือ

  1. สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งไม่ใช่มนุษย์
  2. ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ที่เกิดขึ้นหลังจากไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิจนผ่านระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตจนถึงครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการตั้งท้องหรือการฟักตัวของไข่ แล้วแต่ชนิดของสัตว์
  3. เซลล์ของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ซึ่งไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์ ที่สามารถพัฒนาเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นตัวอ่อนหรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะต่อไปได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปจากเดิม
  4. สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง

เพราะฉะนั้นถ้านักวิจัยไม่แน่ใจว่าสัตว์ที่จะวิจัยเข้าข่ายตาม พรบ.ฯ หรือไม่ ควรยื่นขอรับการอนุมัติมายังคณะกรรมการ คกส. ก่อน

ข้อเสนอแนะ/ คำเตือน

โดยสรุปถ้าโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ นักวิจัยไม่แน่ใจว่าควรจะยื่นขออนุญาตจาก คกส หรือไม่ แนะนำว่าควรยื่นมาก่อน เพราะถ้าหากไม่มีการยื่นขอต่อ คกส ตั้งแต่แรก และโครงการได้ดำเนินการไปแล้ว จะไม่สามารถขอหลักฐานเลขที่รับรองจาก คกส ย้อนหลังได้กรณีนักวิจัยมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ แต่ไม่มีหลักฐานเลขที่รับรองจาก คกส (เนื่องจากไม่ได้มีการยื่นขอต่อ คกส) จะไม่สามารถนำผลงานวิจัยนั้น มาใช้ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้

update: 25 Sep 2018

ตอบ นักวิจัยที่มีใบอนุญาตใช้สัตว์ (สอบผ่านการอบรมจากสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) ยื่นโครงการวิจัยมายังคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คกส.) ก่อนอื่นโครงการวิจัยนั้น จะต้องมีนักวิจัยอย่างน้อย 1 คน อาจเป็นนักวิจัยหลักหรือผู้ร่วมวิจัยที่มีใบอนุญาตใช้สัตว์ (สอบผ่านการอบรมจากสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) กรณีเป็นโครงการวิจัยสำหรับบัณฑิตศึกษา อย่างน้อยอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และหรืออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม จะต้องมีใบอนุญาตใช้สัตว์ ส่วนสำหรับนักศึกษา ถ้าเป็นไปได้ควรมีใบอนุญาตใช้สัตว์ด้วย จากนั้นสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้

  1. เข้าหน้าเว็บไซต์ของสำนักวิจัยและพัฒนา (RDO) เพื่อดาวนโหลดเอกสาร “แบบฟอร์มข้อเสนอขอใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์” ที่ https://rdo.psu.ac.th/ResearchStandards/animal/
  2. กรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและมีรายละเอียดที่ทำให้ คกส. สามารถเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยที่ขอใช้สัตว์
  3. ควรคำนึงถึงหลัก 3Rs ในการกรอกข้อมูล และเรื่องของจำนวนสัตว์ที่ใช้ซึ่งควรมีการคำนวณเชิงสถิติหรือหลักการที่ใช้ปฏิบัติสากลเกี่ยวกับการศึกษาอ้างอิง
  4. ส่งแบบฟอร์มข้อเสนอขอใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์และเอกสารโครงการพร้อมเอกสารต่าง ๆ ผ่านคณะที่ผู้รับผิดชอบหลักสังกัดมายังคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของสถาบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักวิจัยและพัฒนา
update: 25 Sep 2018

ตอบ จำเป็นต้องยื่น ทุก 1 ปี แต่ถ้ารายวิชานั้น ๆ มีการปรับปรุงแก้ไขจากเดิม ก็ต้องยื่นทุกครั้งที่มีการปรับปรุงแก้ไข

update: 25 Sep 2018

ตอบ หากโครงการวิจัยที่ 1 ได้มีการขออนุญาตหรือแจ้งต่อ คกส.ไว้แล้วว่าจะมีการแยกชิ้นเนื้อหรืออวัยวะของสัตว์ทดลอง โครงการวิจัยที่ 2 ไม่จำเป็นต้องขออนุมัติโครงการจาก คกส. อีกเพราะไม่ได้มีการใช้สัตว์ทดลองตาม พรบ.แต่ถ้านักวิจัยไม่ได้ระบุในโครงการวิจัยที่ 1 ว่าจะมีการแยกชิ้นเนื้อหรืออวัยวะของสัตว์ทดลองที่จะนำมาใช้วิจัยต่อในโครงการวิจัยที่ 2 นักวิจัยควรแจ้งต่อ คกสโดยอธิบายชี้แจงจากการที่ได้นำสัตว์ทดลองที่ได้มีการแยกชิ้นเนื้อหรืออวัยวะจากโครงการวิจัยที่ 1 มาใช้วิจัยสำหรับโครงการวิจัยที่ 2

update: 26 Oct 2018

ตอบ ถ้าเป็นซากสัตว์หรือสัตว์ที่ตายแล้ว ไม่ต้องยื่นขออนุญาตจาก คกส เช่น การเอาชิ้นส่วนของผิวหนังจากสุกรที่ตายแล้วจากโรงฆ่าสัตว์มาใช้ในงานวิจัย

update: 25 Sep 2018

ตอบ ตามพระราชบัญญัติ (พรบ) สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ สัตว์หมายถึง

  1. สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งไม่ใช่มนุษย์
  2. ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ที่เกิดขึ้นหลังจากไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิจนผ่านระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตจนถึงครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการตั้งท้องหรือการฟักตัวของไข่ แล้วแต่ชนิดของสัตว์
  3. เซลล์ของสิ่งมีชีวิตตาม (1) ซึ่งไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์ ที่สามารถพัฒนาเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นตัวอ่อนหรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะต่อไปได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปจากเดิม
  4. สิ่งมีชีวิตอื่นที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสาทรับรู้ถึงความเจ็บปวดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
update: 25 Sep 2018

ติดต่อ

มาตรฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง
สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชั้น 11 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์:0-7428-6963
Email: rdo@psu.ac.th
Website: http://rdo.psu.ac.th

Link ที่เกี่ยวข้อง